เมนู

อรรถกถาเขตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเขตตสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปฏิกจฺเจว แปลว่า ก่อนทีเดียว. บทว่า สุกฏฺฐํ กโรติ
ความว่า ชาวนาทำนาให้เป็นอันไถดีแล้วด้วยไถ. บทว่า สุมติกตํ ความว่า
(ทำนา) ให้มีพื้นที่เรียบร้อย คือ ราบเรียบ. บทว่า กาเลน ได้แก่
ตามกาลที่ควรหว่าน.
บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสสิกขา 3
ไว้คละกันทีเดียว.
จบอรรถกถาเขตตสูตรที่ 3

4. วัชชีปุตตสูตร



ว่าด้วยการเจริญไตรสิกขาเพื่อละอกุศลมูล



[524] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ กูฏาคาร-
ศาลา
ในป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง
เข้าไปเฝ้า ฯลฯ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบทที่สำคัญ 150 นี้
ย่อมมาสู่อุทเทส (คือสวดในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งเดือน ข้าพระพุทธเจ้า
ไม่อาจศึกษา (คือปฏิบัติรักษา) ในสิกขาบทมากนี้ได้พระเจ้าข้า.
พ. ก็ท่านอาจหรือไม่ ภิกษุ ที่จะศึกษาในสิกขา 3 คืออธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

ภ. อาจอยู่ พระพุทธเจ้าข้า...
พ. เพราะเหตุดังนั้น ท่านจงศึกษาในสิกขา 3 นี้เถิด ภิกษุ เมื่อใด
ท่านจักศึกษา ทั้งอธิศีล ทั้งอธิจิต ทั้งอธิปัญญา เมื่อนั้น ท่านศึกษา
อธิสีลสิกขาอยู่ก็ดี...จักละราคะ โทสะ โมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ. โมหะได้
กรรมใดเป็นอกุศล ท่านก็จักไม่ทำกรรมนั้น กรรมใดเป็นบาป ท่านก็จัก
ไม่เสพกรรมนั้น.
ต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลอยู่ก็ดี อธิจิตอยู่ก็ดี อธิปัญญาอยู่ก็ดี เมื่อ
เธอศึกษาอธิสีลสิกขาอยู่ก็ดี. . . จักละราคะ โทสะ โมหะได้ เพราะละราคะ
โทสะ โมหะได้ กรรมใดเป็นอกุศล เธอก็ไม่ทำกรรมนนั้น กรรมใดเป็นบาป
เธอก็ไม่เสพกรรมนั้น.
จบวัชชีปุตตสูตรที่ 4

อรรกถาวัชชีปุตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในวัชชีปุตตสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วชฺชีปุตฺตโก ได้แก่ บุตรของราชตระกูลวัชชี. บทว่า
ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ ได้แก่ สิกขาบท 150. ภิกษุวัชชีบุตรหมายเอา
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในสมัยนั้นจึงกล่าวคำนี้ว่า ทิยทฺฒสิกฺขาปทสตํ.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยอาชวธรรมเป็นผู้มีนิสัยซื่อตรง ไม่คดโกง
ฉะนั้น ท่านจึงคิดว่า เราจะสามารถรักษาสิกขาบทจำนวนเท่านี้ได้หรือไม่
ดังนี้ แล้วกราบทูลให้พระศาสดาทรงทราบ. บทว่า สกฺโกมหํ ตัดบทเป็น